ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ   ได้รับอนุญาตให้จัดตั้ง เมื่อวันที่  7  พฤศจิกายน  2522  ก่อตั้งโดย ดร.กมล  ชูทรัพย์   สืบเนื่องด้วยนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัติวิชาชีพ (ปวช.)  ประเภทวิชาพาณิชยกรรมมีความต้องการที่จะศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีจำนวนมาก   ในขณะนั้น สถานศึกษาของรัฐบาลไม่สามารถสนองความต้องการได้พอเพียงการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อได้จำนวนจำกัด ประกอบกับมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง หน่วยงานและสถานประกอบการมีความต้องการบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาในระดับปวส.เป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการพัฒนาบ้านเมืองทางด้านพณิชยกรรมและอุตสาหกรรม

ดังนั้น ดร.กมล  ชูทรัพย์ ได้ก่อตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจขึ้น  ซึ่งเป็นวิทยาลัยเอกชนกลุ่มแรกที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนประเภทวิชาบริหารธุรกิจ ในระดับ ปวส. เป็นสถาบันการศึกษาหนึ่งของสถาบันในเครือตั้งตรงจิตร โดยมีพัฒนาการเติบโต ต่อเนื่องมาเป็นลำดับ ดังนี้

ปีการศึกษา 2522  มีอาคารเรียน  3 ชั้น  1 หลัง  มีพื้นที่  3 ไร่ 2 งาน 62  ตารางวา

ปีการศึกษา 2522 วิทยาลัยได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนคณะบริหารธุรกิจ ระดับประกาศนียบัตร

ปีการศึกษา 2540 ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) ในสาขาวิชา การบัญชี และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ดำเนินการสอนเป็นภาษาอังกฤษทุกรายวิชา โดยอาจารย์ชาวต่างชาติผู้เป็นเจ้าของภาษา เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีการพัฒนาภาษาอังกฤษมากขึ้น และมีโอกาสดีขึ้นในการเข้าสู่ตลาดงานในยุคโลกาภิวัตน์ ในช่วงต้นปีการศึกษา 2540 ได้เปิด “ศูนย์ภาษาอังกฤษ” WIMOL ENGLISH LANGUAGE CENTRE (WELC) ขึ้นเพื่อให้บริการการสอนและ การอบรมด้านภาษาอังกฤษแก่นักศึกษาและผู้สนใจ ปัจจุบันได้ให้การบริการสอนภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษาที่เรียนในภาคภาษาไทย สัปดาห์ละ 1 คาบ โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมพิเศษ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษาทุกคนอย่างต่อเนื่อง

วิชาชีพชั้นสูง ประกอบด้วย 3 แผนก ดังนี้
1.แผนกวิชาการบัญชี2.แผนกวิชาการตลาด3.แผนกวิชาการเลขานุการ

ปีการศึกษา 2525 วิทยาลัยได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอน คณะบริหารธุรกิจ ระดับประกาศนียบัตร

วิชาชีพชั้นสูง ประกอบด้วย 4 แผนก ดังนี้
1.แผนกวิชาการจัดการ2.แผนกวิชาการเงินการธนาคาร3.แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ4.แผนกวิชาการโฆษณา

ปีการศึกษา2526 วิทยาลัยได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

วิชาชีพชั้นสูง ประกอบด้วย 1 แผนก ดังนี้
1.แผนกภาษาต่างประเทศ(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแผนกวิชา
ภาษาธุรกิจ) และเปลี่ยนชื่อสาขาวิชา

ปีการศึกษา 2527 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนหลักสูตรใหม่ ประกอบด้วย 8 แผนก ดังนี้

วิชาชีพชั้นสูง ประกอบด้วย 8 แผนก ดังนี้
1.แผนกวิชาการตลาด2.แผนกวิชาการบัญชี3.แผนกวิชาการเลขานุการ4.แผนกวิชาการเงินการธนาคาร
5.แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ6.แผนกวิชาการจัดการ7.แผนกวิชาภาษาต่างประเทศ8.แผนกวิชาการโฆษณา

ปีการศึกษา 2527 ได้รับอนุญาตให้เพิ่มหลักสูตร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อีก 2 สาขา ดังนี้

วิชาชีพชั้นสูง ประกอบด้วย 2 แผนก ดังนี้
1.สาขาวิขาการท่องเที่ยว2.สาขาวิชาการโรงแรม

ปีการศึกษา 2533 กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้วิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตร ปวท.(ประกาศนียบัตร
วิชาชีพเทคนิค) รวม 5 สาขาวิชา ดังนี้

วิชาชีพชั้นสูง ประกอบด้วย 2 แผนก ดังนี้
1.สาขาวิชาการตลาด2.สาขาวิชาการบัญชี3.สาขาวิชาการเลขานุการ
4.สาขาวิชาการเงินการธนาคาร 5.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ปีการศึกษา 2536 กระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้รับผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.6) เข้า ศึกษาต่อระดับ ปวส. หลักสูตร ปวท.

ปีการศึกษา 2537 วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ ได้ร่วมกับวิทยาลัยในเครือตั้งตรงจิตรพณิชยการ ก่อตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์วิทยาลัยในเครือตั้งตรงจิตรพณิชยการ จำกัด โดยจดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมสหกรณ์ และมีสำนักงานอยู่ ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ครู-อาจารย์และพนักงานที่เป็นสมาชิกได้ออมทรัพย์ และช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกในการให้เงินกู้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเมื่อมีเหตุจำเป็น

ปีการศึกษา 2538 ได้จัดตั้งหน่วยงานให้บริการอินเตอร์เน็ตขึ้นใหม่ ใช้ชื่อว่า “KSC-WIMOL Internet Branch” โดยได้ทำสัญญาความร่วมมือกับบริษัท เค เอส ซี คอมเน็ต จำกัด เพื่อให้คำแนะนำและอบรมบุคลากรในด้านเทคนิคการต่อเชื่อมสัญญาณจากต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นวิทยาลัยสามารถให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่นักเรียนนักศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้ทันสมัยและมีระบบการให้บริการข่าวสารข้อมูลที่รวดเร็วและกว้างไกล เป็นการเปิดโลกทัศน์ของนักศึกษาและอาจารย์ให้มีมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น

ปีการศึกษา 2539 ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใหม่ 6 ชั้น อีก 1 หลัง เพื่อรองรับนักศึกษาที่มีปริมาณความต้องการเข้าศึกษาต่ออีกเป็นจำนวนมาก แล้วเสร็จเปิดใช้งานได้ใน

ปีการศึกษา 2540 และโรงเรียน ได้ร่วมมือทางวิชาการกับสถาบัน The Bournemouth and Poole College เมือง Bournemouth ประเทศอังกฤษ เปิดหลักสูตร Diploma ที่เรียนเป็นภาษาอังกฤษ เรียกว่า International Programme ใช้หลักสูตรของสถาบัน The Bournemouth and Poole College ควบคู่กับหลักสูตรภาคภาษาไทย (Bilingual program) 2 สาขาวิชา คือ Business และ Computer ใช้เวลาศึกษา 2 ปี (ปวส.) สามารถนำไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมไปถึงได้เซ็นสัญญาร่วมมือแลกเปลี่ยน นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาใน สาขาวิชาการโรงแรม การท่องเที่ยว และ ภาษาอังกฤษ กับ WAIARIKI INSTITUTE OF TECHNOLOGY เมืองโรโตรัว ประเทศนิวซีแลนด์ รวมเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์

ปีการศึกษา 2542 วิทยาลัยได้รับอนุญาตเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ของกรมอาชีวศึกษา พ.ศ.2538

โดยรับนักเรียนที่จบ ม.3 หรือเทียบเท่าเข้าเรียน ปวช.พาณิชยกรรม 5 กลุ่มวิชา ดังนี้
1.กลุ่มวิชาการขาย2.กลุ่มวิชาการบัญชี3.กลุ่มวิชาการเลขานุการ
4.กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ 5.กลุ่มวิชาธุรกิจโรงแรม

ปีการศึกษา 2545 วิทยาลัยได้รับอนุญาตให้เปิดสอนหลักสูตร ปวช. ของกรมอาชีวศึกษา เพิ่มอีก 1 กลุ่มวิชา คือ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจบริการ กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ

ปีการศึกษา 2546 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2538 เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) เปลี่ยนชื่อเรียกสาขา
ดังนี้

1. ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาพณิชยการ 5 สาขางาน ดังนี้
1.สาขางานการบัญชี2.สาขางานการขาย3.สาขางานการเลขานุการ
4.สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 5.สาขางานภาษาต่างประเทศ

ปีการศึกษา 2546 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2538 เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) เปลี่ยนชื่อเรียกสาขา
ดังนี้

ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว,สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว 2 สาขางาน
ดังนี้
1.สาขางานการโรงแรม2.สาขางานการท่องเที่ยว

ปีการศึกษา 2549 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับ ปวส.เพิ่มขึ้นอีก 2 สาขาวิชา ประเภท
วิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชา การจัดการโลจิสติกส์ จำนวน 2 สาขางาน ดังนี้

ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับ ปวส.เพิ่มขึ้นอีก 2 สาขาวิชา ประเภท
1.สาขางานการจัดการการขนส่ง2.สาขางานการจัดกการการคลังสินค้า

ปีการศึกษา 2551 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนหลักสูตร เรียนระบบทวิภาคี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทบริหารธุรกิจ และประเภทอุตสาหกรรมท่องเที่ยวดังนี้

1. ประเภทบริหารธุรกิจ 1 สาขาวิชา
1.สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก
2. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 1 สาขาวิชา
1.สาขาวิชาการโรงแรมและบริการ

ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้เปิดสอน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
เรียนระบบทวิภาคี

1. ประเภทบริหารธุรกิจ 1 สาขาวิชา เรียนระบบทวิภาคี
1.สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์(ทวิภาคี)

ปีการศึกษา 2559 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้เปิดสอน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เรียนระบบทวิภาคี

1. ประเภทบริหารธุรกิจ 1 สาขาวิชา เรียนระบบทวิภาคี
1.สาขาวิชาการบัญชี(ทวิภาคี)

ปีการศึกษา 2560 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้เปิดสอน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เรียนระบบทวิภาคี

1. ประเภทบริหารธุรกิจ 1 สาขาวิชา เรียนระบบทวิภาคี
1.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ(ทวิภาคี)

ปีการศึกษา 2561 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้ เปิดเพิ่ม หลักสูตรประกาศนียบัติวิชาชีพ(ปวช.) พุทธศักราช 2556 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก, สาขางานธุรกิจค้าปลีกร้านอาหารและภัตตตาคาร จัดการเรียนการสอน ระบบทวิภาคี

1. ประเภทบริหารธุรกิจ 1 สาขาวิชา เรียนระบบทวิภาคี
1.สาขางานธุรกิจค้าปลีกร้านอาหารและภัตตาคาร(ทวิภาคี)

ปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้ใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ(พัฒนาโดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศีกษา) โดยใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 ดังนี้

1. ประเภทบริหารธุรกิจ 3 สาขาวิชา เรียนระบบทวิภาคี
1.สาขาวิชาการตลาด(ทวิภาคี)2.สาขาวิชาการบัญชี(ทวิภาคี)3.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ(ทวิภาคี)
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ระบบปกติ 1 สาขาวิชา
1.สาขาวิชาการโรงแรม(ทวิภาคี)
ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ระบบทวิภาคี 1 สาขาวิชา
1.สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก(ทวิภาคี)

เพิ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2557 จัดการเรียนการสอน ระบบทวิภาคี รอบเข้าและรอบบ่าย

ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ
1.สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์1.1 สาขางานการจัดการคลังสินค้า1.2 สาขางานตัวแทนออกของ

ปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระบบปกติและระบบทวิภาคี พุทธศักราช 2563 โดยสำนักบริหารการอาชีวศึกษาเอกชน

ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ
1.สาขาวิชาการบัญชี2.สาขาวิชาการตลาด3.สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล
4.สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก5.สาขาการจัดการ6.สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
1.สาขาวิชาการโรงแรม2.สาขาวิชาการท่องเที่ยว

ปีการศึกษา 2564 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุญาตให้เพิ่มหลักสูตร ระดับ ปวช. ดังนี้ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ระบบปกติและระบบทวิภาคี

สาขาวิชาโลจิสติกส์
1.สาขางานโลจิสติกส์
ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระบบปกติ
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสาขางานการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เว็บ และอุปกรณ์เคลื่อนที่

ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยฯ เปิดทำการสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) เรียนระบบปกติ และ เรียนระบบทวิภาคี ดังนี้

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) เรียนหลักสูตรพุทธศักราช 2562
ประเภทวิชา/สาขาวิชาระบบปกติระบบทวิภาคี
1.พาณิชยกรรม  
การตลาด        √        –
การบัญชี        √        √
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ        √        –
    โลจิสติกส์        √        √
    ธุรกิจค้าปลีก        –        √
2. อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
    การโรงแรม        √        –
3.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  เทคโนโลยีสารสนเทศ        √        –

ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยฯ เปิดทำการสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) เรียนระบบปกติ และ เรียนระบบทวิภาคี ดังนี้

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เรียนหลักสูตรพุทธศักราช 2563
ประเภทวิชา/สาขาวิชาระบบปกติระบบทวิภาคี
1.บริหารธุรกิจ  
    การตลาด        √        √
    การบัญชี        √        √
    การจัดการ        √        √
    การจัดการโลจิสติกส์        √        √
    การจัดการธุรกิจค้าปลีก        –        √
   เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล        √        √
2. อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
    การโรงแรม        √        √
3.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร        √      √
seers cmp badge